วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ::

King+Card4.jpg King+Card.jpg
จากบทสัมภาษณ์ของคุณฮิโรมิ อินาโยชิ นักออกแบบชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ออกแบบพระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ชุดที่ท่านผู้อ่านเห็นอยู่นี้ ในวารสาร ในวงการพิมพ์” (http://www.thethaiprinter.com/) กล่าวไว้ว่าการได้รับโอกาสเป็นผู้ออกแบบ
พระนามบัตรในหลวงนั้นมีที่มาจากการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการออกแบบสัญลักษณ์และสี ในงานของสหประชาชาติ ณ
โรงแรมพลาซ่าแอทธินี เมื่อปี พ.ศ. 2545 และมีบุคคลในสำนักพระราชวังไปเห็นฝีมือ จึงให้ความสนใจและหารือถึงการสร้างสรรค์
ผลงานเพื่อถวายในหลวง เนื่องในวโกาสครบรอบ 75 พรรษา โดยสรุปสุดท้ายที่การออกแบบนามบัตรจำนวน 4 แบบ ดังนี้

แบบที่ 1 มีคอนเซ็ปต์มาจากตัว “A” ซึ่งเป็นพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯคือ อดุลยเดชและส่วนของจุดสีที่อยู่ภาย
ในแทนสีของแก้วนพรัตน์หรืออัญมณี 9 ประการ อันเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์

แบบที่ 2 มีคอนเซ็ปต์มาจากการพนมมือไหว้ของคนไทย อันเป็นเอกลักษณ์ที่สื่อได้ถึงความเป็นคนไทย ขณะเดียวกัน ก็มีจุดสีของ
แก้วนพรัตน์รายล้อมอยู่ภายใน สื่อถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ของไทย

แบบที่ 3 มีคอนเซ็ปต์มาจากเครื่องดนตรีคือแซกโซโฟน ซึ่งในหลวงทรงโปรดเป็นพิเศษและมีจุดสีของแก้วนพรัตน์แสดงเอกลักษณ์
ของพระ มหากษัตริย์อีกเช่นกัน

แบบที่ 4 มีคอนเซ็ปต์มาจากพระนาม ภูมิพล ซึ่งเมื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษจะขึ้นต้นด้วยตัว “B” แล้วออกแบบรูปร่างทำเป็นปีก
พญาครุฑ ภายในบรรจุจุดสีของแก้วนพรัตน์แสดงเอกลักษณ์พระมหากษัตริย์ เพื่อให้เป็นในแนวทางเดียวกันหมด

เป็นที่น่าสังเกตุว่า การออกแบบพระนามบัตรจะเน้นภาพสัญลักษณ์มากกว่าการสื่อความหมายด้วยภาษาของตัวอักษร ดังที่ปรากฎใน
นามบัตรทั่วไป โดยที่คุณฮิโรมิ อธิบายว่า จริง ๆ แล้วการออกแบบนามบัตรทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง ถ้าพูดถึงระดับนานานาชาติ จะนิยม
ทำสัญลักษณ์มากกว่าใช้ภาษาของตัวอักษร

นามบัตรที่ดีจะไม่ นิยมพิมพ์ชื่อตัวเองหรือชื่อบุคคลขนาดใหญ่ ตัวหนังสือจะออกแบบเพียงให้ดูเป็นมันขึ้นมาและสื่อภาษาเล็กน้อยเท่านั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็คงไม่จำเป็นต้องเน้นชื่อ และไม่จำเป็นต้องใส่ที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ สื่อ
เพียงแค่เป็นพระมหากษัตริย์ของไทยก็เพียงพอ

คุณฮิโรมิ กล่าวว่า จริง ๆ แล้วการออกแบบสัญลักษณ์ไม่เหมือนกับภาพวาดทั่วไป ที่มองเห็นของจริงแล้ววาดภาพเหมือนออกมา แต่งาน
ออกแบบของตนเองไม่ได้มองภาพจริงวาดภาพเหมือน แต่เป็นการใช้จิตนาการนึกภาพออกมาเป็นสัญญลักษณ์แทนตัวบุคคล

เมื่อถาม ว่า ความคิดขณะออกแบบตั้งใจเพื่อให้ในหลวงใช้พระราชทานแก่บุคคลอื่นด้วยหรือไม่ คุณฮิโรมิหัวเราะก่อนตอบว่า
ก็เห็นพระองค์ท่านมีการพระราชทานเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการมีรับสั่งให้พิมพ์เพิ่มด้วย โดยใช้โรงพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ดำเนินการ
แต่พระนามบัตร ซึ่งเป็นการออกแบบสัญลักษณ์นี้เป็นการใช้ส่วนพระองค์มากและไม่เป็นทางการ เพราะส่วนที่เป็นทางการในหลวงท่านก็
มีตราประจำรัชกาล หรือตราสัญลักษณ์เนื่องในวโรกาสต่าง ๆ อยู่แล้ว ความคิดขณะออกแบบจึงไม่ได้มุ่งให้เป็นงานเป็นการมากนัก

อย่างไรก็ ตาม ความคิดขณะออกแบบนั้น สิ่งที่คำนึงถึงอย่างมากคือเรื่องระบบการพิมพ์ ซึ่งจะต้องมีลูกเล่นให้แปลกตา, มีความหมายและ
ลูกเล่นที่ไม่ซ้ำแบบใคร หรือทำการพิมพ์ลอกเลียนแบบไม่ได้ง่าย ๆ
ระบบการพิมพ์จะค่อนข้าง พิถีพิถัน อย่างเช่น การใช้สีพิเศษ กระดาษก็จะต้องเป็นของ Arjo Wiggins Fine ซึ่งเป็นกระดาษของฝรั่งเศส
เครื่องพิมพ์ก็จะกำหนดให้ต้องใช้เครื่องพิมพ์โรแลนด์และไฮเดลเบิร์กเท่านั้น รวมทั้งอื่น ๆ ซึ่งจะมีการกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยให้โรงพิมพ์
ดำเนินการทั้งหมดเลย รวมทั้งจะเข้าไปดูแลและควบคุมการพิมพ์งานด้วยตัวเองด้วยขั้นตอนการพิมพ์พระนามบัตรจะทำการพิมพ์สีพื้นก่อน
แล้วทำการพิมพ์ฟอยล์ตบท้าย โดยในส่วนจุดสีของนพรัตน์หรือสีอัญมณีทั้ง 9 เม็ด จ ะต้องพิมพ์ทั้งหมด 18 สี กล่าวคือ พิมพ์ครั้งแรกจำนวน
9 สีหรือ 1 รอบ และพิมพ์ 9 สีอีก 1 รอบทับอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่า แต่ละสีจะมีการพิมพ์ 2 ครั้ง โดยกว่าจะได้งานออกมาดังที่ตั้งใจ ต้องทำ
การปรู๊ฟถึง 12 ครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น: