ห่างหายไปจากบล็อกตัวเองนานถึง 3 เดือน ถ้าจำไม่ผิด มีเหตุมาจากได้ไปทำงานกับพี่ ๆ ห้องสมุด เดินทางทุกวันเสาร์ อาทิตย์
งานที่ไปทำก็ที่ห้องสมุดประชาชนเชียงใหม่ และอุบลราชธานี เด๊อ,,,,เจ๊า
เท่าที่ทราบ ห้องสมุดทั้งสองแห่ง เป็นโครงการนำร่อง ของ Knowledge Centre (KC) เป็นเจ้าของโครงการ แต่อยู่ภายในหน่วยงาน OKMD (Organisation of Knowledge Management & Development) ชื่อภาษาไทยว่า สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (motto คือ กระตุกต่อมคิด) www.okmd.or.th สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
โครงการ KC หรือความรู้กินได้เนี่ย อยากทำห้องสมุดให้ดูมีชีวิตชีวาขึ้น หรืออยากให้มันดูคล้าย ๆ ของ TCDC = www.tcdc.or.th
ห้องสมุดทั้งสองแห่งคาดว่าจะเปิดให้บริการรูปโฉมใหม่ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ปีหน้า หากโครงการทั้งสองแห่งเข้าตาบรรดาห้องสมุดประชาชนทั้งหลาย ประเทศชาติจะได้เห็นห้องสมุดประชาชนพัฒนาจริง ๆ ตามกระแสบ้านเรา (ฮิตเหลือเกินเรื่องห้องสมุดสมัยใหม่)
ห้องสมุดฯ เชียงใหม่จากมุมสูง สี่แยกแจ่งหัวริน อยู่บนถนนห้วยแก้ว เยื้องห้องสมุดเป็นกาดสวนแก้ว ซอยด้านข้างเข้าไปเดินวกวนหน่อยจะเป็น YMCA แล้วก็มีร้านกาแฟสดอร่อยสำหรับพวกเราชาวคณะ ชื่อร้าน B-Bloom ส่วนเยื้องหัวมุมก็เป็นคูเมืองจ้ะ
นี่คือห้องสมุดหน้าตาปัจจุบัน ไม่รู้ว่าโฉมใหม่จะเสร็จเมื่อไหร่ อยากเห็นเหมือนกัน หากได้ไปเยือนจะเอามาฝาก
ทางเข้า ชั้นบนทำเป็นห้องติดกระจก ต่างจากที่อุบลฯ (เปิดโล่ง)
ด้านล่าง ด้านหน้าที่เป็นห้องกระจกเป็นห้องสำหรับเด็กไว้ดูทีวี ซ้ายมือมุมหนังสือเด็ก ขวามือก็หนังสือทั่วไป ที่นั่งก็โต๊ะ เก้าอี้อย่างที่เห็นแหละค่ะ
พวกเรามาจัดทำรายการหนังสือตรวจสอบดูว่าใช้ได้แล้วยังคงอยู่กี่เล่มตามรายการที่เค้าให้มาหรือป่าว
ที่นี่ทำค่อนข้างยากเพราะชั้นหนังสือเตี้ย ต้องก้ม ๆ เงย ๆ ตลอดเวลา เล่นเอาป้า ๆ เวียนหัว ต้องนั่งกับพื้นแหละถึงจะไม่เป็นลม
กระดาษเหล่านี้คือบัญชีรายชื่อหนังสือที่คาดว่าจะมีในห้องสมุด จากที่เจ้าของโครงการแจ้งมาบอกว่ามี 26,000 เล่ม หาได้ก็ประมาณ 7,000 เล่ม แถมหนังสือที่พบ 7,000 นั้น เป็นหนังสือที่อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ไม่ตกรุ่น (ปี) หรือต่ำกว่าสิบปี มีประมาณ 4,000 เล่ม (ที่เหลือไปไหน)
สามรูปสุดท้ายเป็นห้องสมุดสมัยก่อน ๆ ที่จะมีอาคาร (รูปด้านบน)
ห้องสมุดทั้งสองแห่งที่พบคือกลิ่น ที่เชียงใหม่ มีโรงอาหารอยู่ด้านหลัง ผัดกระเพราเมื่อไหร่ได้กลิ่น ไข่เจียว มีอยู่วันแม่ค้าคั่วพริกแห้ง สงสัยจะสามกะทะ พวกเรานั่งจาม ผลัดกันจาม กลิ่นนี้ไม่เลวร้ายเท่า กลิ่นหนูตาย พยายามให้คนที่ห้องสมุดช่วยหากลิ่น ก็หาไม่เจอ ม่ายรู้มันอยู่ไหน
ชีวิตวนเวียนอยู่กับห้องสมุด และชาวบรรณารักษ์ ก็ได้ความรู้มาไม่มากก็น้อย แต่เท่าที่รู้คือคนที่จะช่วยเราทำงานด้านนี้หากไม่จบบรรณารักษ์ สงสัยต้องเป็นอาชีพเลขาฯ แหละ เพราะต้องอาศัยความรู้เรื่องการพิมพ์เว้นวรรค ระหว่างคำ ประโยค และเครื่องหมาย การพิมพ์คำย่อทั้งหลาย ซึ่งตัวข้าน้อยเองก็วิชาชีพเลขาฯ และเหล่าเพื่อนพ้องก็เลขาฯ ด้วยเหมือนกัน
อีกอย่างที่เห็นคือคนที่เพิ่งทำงาน (มือใหม่) คนรุ่นเก่า ผ่านงานมาเยอะ เจ็บมาแยะ มีตัวข้าน้อยคนเดียวที่นอกวงการสุด ๆ หนังสือไม่ชอบอ่าน ห้องสมุดไม่ชอบเข้า ๆ จะเห็นคนชอบสั่ง คนชอบทำงาน (ป้า ๆ นั่งไม่มีลุกไปไหนเลยว่ะ โคตรนั่งทน) คนชอบรับปาก แต่ไม่ทำ (อีโก้สูงมั๊ง) ข้าน้อยก็อยากให้เสร็จเร็ว คิดแต่ทำยังให้คุ้มทุนทั้งเวลา คน ไม่ยืดเยื้อ แต่งานนี้ยากส์ เพราะเหตุมาจากต้นทางแล้ว เนื่องจากผู้จ้างไม่แม่นในจำนวน เวลาของบรรณารักษ์ที่จะไปช่วยทำงาน มีน้อย คนพื้นที่หาไม่ได้ (คนที่นี่ค่อนข้างจะรักความสบาย)
งานนี้ฝุ่น หยักไย่ จากหนังสือทำให้ภูมิแพ้กำเริบ ด้วย ต้องยกหนังสือ ขึ้น ลง บนชั้น เล่นเอายอกเหมือนกัน นี่หาเด็กมัธยมมาช่วยยกแล้วจ่ายค่าจ้างนะ เด็กหนุ่ม ๆ ยังบ่นเลย เลยให้ลองนับจำนวนหนังสือในชั้นให้ตรงกับรายการหนังสือ ปรากฎว่า เด็กนับ 80 เล่ม โดยใช้สองคนช่วยกันนับ ยังพลาด ต้องนับถึงสามครั้ง แล้วก็ยืนกำกับด้วย ถึงจะได้ตรงกัน เด็กเลยบอกว่ายกหนังสือง่ายกว่า (เอาออกจากชั้น เอาไปเก็บในชั้น เรียงตามเลขลำดับ ง่ายกว่าเยอะ) ให้ค่าแรงวันละ 200 บาทเลยนะ เห็นว่าเป็นงานหนัก และเปรอะเปื้อน
แค่นี้ก่อนนะเพื่อน จะไปหารูปของอุบลฯ มาลงบล็อกให้เพื่อนดู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น